Influencer

รู้จักประเภทของ Influencer

ก่อนทำการตลาดผ่านคนดัง หรือ Influencer Marketing จะต้องทำความรู้จักระดับของอินฟลูเอนเซอร์ ว่ามีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

รู้หรือไม่ว่า? ในปี 2022 ในประเทศไทยมีอินฟลูเอนเซอร์กว่า 2 ล้านคน (อ้างอิงข้อมูลจาก สภาพัฒน์) อาชีพนี้ได้รับความสนใจจากคนจำนวนมากค่ะ และเป็นอีกช่องทางการสื่อสารทางการตลาด หรือทำการตลาดออนไลน์ได้เป็นอย่างดี สำหรับนักธุรกิจ หรือนักการตลาดที่ต้องการลงมือทำ Influencer Marketing นี่เป็นอีกศัพท์ที่จะต้องรู้จักก่อนเริ่มลงมือทำ เพื่อให้การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนทำ Influencer Marketing ต้องอ่านบทความนี้ก่อน นั้นก็คือเรื่องราวประเภทของ Influencer ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องรู้จักใน 3 ประเภทนี้

ระดับการเรียก Influencer มีอะไรบ้าง

ส่วนใหญ่การแบ่งประเภทของ Influencer จะแบ่งตามตัวเลขของผู้ติดตามเป็นหลักค่ะ เนื่องจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์จะมีผู้ติดตามเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้แคมเปญการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ทรงพลังมากที่สุด การเลือกใช้ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ก็สำคัญ นี่เป็นรายละเอียดประเภทของอินฟลูเอนเซอร์แบบคร่าว ๆ ค่ะ

  1. Nano Influencer ผู้ติดตาม 1,000-10,000 คน 
  2. Micro Influencer ผู้ติดตาม 10,000-100,000 คน 
  3. Macro Influencer ผู้ติดตาม 100,000-1,000,000 คน 
  4. Mega Influencer ผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป

โดยรายละเอียดของระดับอินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมด มีดังนี้

1.Nano Influencer (นาโน อินฟลูเอนเซอร์)

สำหรับ Nano Influencer จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ระดับเล็กที่สุด มีผู้ติดตามไม่เกินหมื่น แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามไม่มาก เป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็ช่วยสร้างการเข้าถึงได้แบบเฉพาะกลุ่ม และเป็นกันเองกับผู้ติดตามแบบสุด ๆ  ข้อดี คือ มีราคาไม่สูงมาก เหมาะกับแบรนด์ธุรกิจที่มีงบการตลาดจำกัด หรือต้องการทดลองทำ Influencer Marketing แบบเริ่มต้น แต่จุดอ่อนคือไม่เป็นที่รู้จัก (Niche Market) ในกรณีใช้ Nano Influencer แนะนำให้ใช้ Nano Influencer เน้นจำนวนมาก ๆ เพื่อสร้างกระแสไวรัลให้เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ค่ะ

 

  • ผู้ติดตาม : 1,000-10,000 คน
  • เหมาะสำหรับ : แบรนด์ที่มีงบประมาณจำกัด

2.Micro Influencer (ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์)

กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์คนดังในโซเชียลมีเดีย Micro Influencer นี้จะมีฐานผู้ติดตามไม่เกิน 100,000 คน ด้วยความที่เป็นอินฟลูที่มีผู้ติดตามแบบระดับกลางทำให้เข้ากับสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะยังเป็นกลุ่มอินฟลูที่ยังภาพจำไม่ชัดเจนมาก อีกทั้งช่วยดันการมีส่วนร่วม (Engagement) ได้เป็นอย่างดี เพราะใกล้ชิดกับผู้ติดตามและเข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้ แต่อาจจะต้องจ้างพร้อมกันหลายคนเพื่อสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ค่ะ

  • ผู้ติดตาม : 10,000 – 1,000,000 คน

เหมาะสำหรับ : แบรนด์ที่ต้องการการมีส่วนร่วม เพิ่มการโน้มน้าวให้คนสนใจ

3.Macro Influencer (มาโคร อินฟลูเอนเซอร์)

คนกลุ่มนี้ผู้ติดตามบน Social Media อยู่ที่ 100,000 – 1,000,000 คน เป็นกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างการรับรู้ได้ดี เจาะตลาดได้กว้าง เพราะมีคนติดตามเยอะ แต่จะไม่ค่อยใกล้ชิดผู้ติดตามเท่าไหร่นักทำให้ยอดการมีส่วนร่วมอาจจะไม่สูงมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการทำคอนเทนต์โปรโมทเป็นทุนเดิม และคนกลุ่มนี้จะมีความเฉพาะตัว

  • ผู้ติดตาม : 100,000 – 1,000,000 คน
  • เหมาะสำหรับ : ธุรกิจที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านอินฟลู ประกอบกับต้องการให้คนรับรู้แบรนด์ธุรกิจของเรา ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่มีคาแรคเตอร์ตรงกับเราต้องการ และมีกลุ่มเป้าหมายตรงกับที่เรามองหา

 

4.Mega Influencer (เมก้า อินฟลูเอนเซอร์)

อินฟลูคนดังเบอร์ใหญ่ หลักล้านขึ้นไป มีชื่อเสียงในสังคมจะเป็นศิลปิน นักร้อง ดารา นักกีฬา ฯลฯ จะมีผู้ติดตามจำนวนมาก บ้างก็เรียกว่า Celebrity คนดัง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เหมาะกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องการสื่อสารในวงกว้างไม่ได้เจาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง และมาพร้อมกับข้อดีคือมีความน่าเชื่อถือกว่าทุกประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ เพราะเป็นคนดังมีชื่อเสียงอยู่เป็นทุนเดิม

  • ผู้ติดตาม : 1,000,000 คนขึ้นไป
  • เหมาะสำหรับ : แบรนด์ที่ต้องการให้คนรู้จักในวงกว้าง ไม่เจาะจงว่าเป็นคนกลุ่มไหน

สรุปรายละเอียดประเภทของ Influencer

ระดับ Influencer

ผู้ติดตาม 

เหมาะกับธุรกิจอะไร

Nano Influencer

1,000 – 10,000 คน

มีงบประมาณจำกัด

Micro Influencer 

100,000 – 1,000,000 คน

ทำ Influencer Marketing ครั้งแรก

Macro Influencer 

100,000 – 1,000,000 คน

มองหา Influencer ที่มีความแตกต่างเฉพาะตัว และมีฐานคนติดตาม

Mega Influencer

1,000,000 คนขึ้นไป

ต้องการให้คนรับรู้แบรนด์ธุรกิจของเราเยอะที่สุด

การจ้างรีวิวที่เหมาะกับระดับ Influencer

เพื่อให้การทำ Influencer Marketing คุ้มค่าคุ้มราคาที่สุด เพราะการเลือกอินฟลูเอนเซอร์มีผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ธุรกิจ หลังจากทำความรู้จักประเภทของอินฟลูเอนเซอร์แล้ว อย่าลืม วางเป้าหมายของการทำ Influencer Marketing ให้ดีว่า เราต้องการทำการตลาดผ่านแพลตฟอร์มไหน เช่น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok เพื่อให้เราคัดเลือกเหล่าคนดังที่จะมาเป็นกระบอกเสียงให้เราได้อย่างเหมาะสมและตรงกับแคมเปญการตลาดของเราแบบตรงจุดและไม่เปลืองงบประมาณค่ะ 

สรุปประเภท Influencer

และไม่ว่าคุณจะต้องการอินฟลูเอนเซอร์ประเภทไหนเราก็มีให้เลือกตามความต้องการของคุณ อยากทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ปรึกษา KOLLAB ได้ค่ะ มีเรามี Influencer ทุกระดับให้คุณได้เลือกสรรตรงโจทย์ ตอบทุกความต้องการในทุก Campaign Influencer Marketing และที่สำคัญสามารถตกลงราคาได้ ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก linkedin.com, สภาพัฒน์

บทความที่คุณอาจสนใจ